การเพิ่มระดับ HDL ของ ไลโพโปรตีนหนาแน่นสูง

แม้ระดับ HDL ในเลือดจะมีสหสัมพันธ์กับสุขภาพหัวใจร่วมหลอดเลือด แต่การใช้ยาเพื่อเพิ่มระดับในเลือดก็ไม่ปรากฏกว่าทำให้สุขภาพดีขึ้น[32]กล่าวอีกอย่างก็คือ การเพิ่มระดับ HDL อาจจะไม่ทำให้สุขภาพหัวใจร่วมหลอดเลือดดีขึ้น[6]เพราะฉะนั้น อาจเป็นไปได้ว่า สุขภาพหัวใจร่วมหลอดเลือดที่ดีทำให้ระดับ HDL สูง หรือมีปัจจัยที่สามอย่างอื่นที่ทำให้ทั้งสุขภาพดีและระดับ HDL สูง หรือนี่เป็นเรื่องบังเอิญโดยไม่เป็นเหตุผล

อนุภาคไลโพโปรตีนแบบ HDL ที่มี apolipoprotein C3 สัมพันธ์กับความเสี่ยงโรคหลอดเลือดแดงเลี้ยงหัวใจเพิ่มขึ้น ไม่ใช่ลดลง[33]

อาหารและการออกกำลังกาย

การเปลี่ยนอาหารและการออกกำลังกายอาจมีผลเพิ่มระดับ HDL คือ[34]

ไขมันอิ่มตัวโดยมากเพิ่มคอเลสเตอรอลแบบ HDL ในระดับต่าง ๆ แต่ก็เพิ่มระดับคอเลสเตอรอลรวมและแบบ LDL ด้วย[48]อาหารไขมันสูง, โปรตีนพอควร, และคาร์โบไฮเดรตต่ำ (เช่น ketogenic diet) อาจทำให้ร่างกายตอบสนองเหมือนกับทานวิตามินบี3 คือลดระดับ LDL และเพิ่ม HDL ดังจะกล่าวต่อไปผ่านการจับคู่ของสารประกอบอินทรีย์ beta-hydroxybutyrate กับหน่วยรับคือ Niacin receptor 1[49]

ยาเสพติด

ระดับ HDL สามารถเพิ่มได้เมื่อเลิกสูบยาเส้น/บุหรี่[40]หรือเมื่อทานแอลกฮอล์น้อยจนถึงปานกลาง[50][51][52][53][54][55]

งานวิเคราะห์ต่าง ๆ แสดงว่า การสูบกัญชาไม่ว่าจะในอดีตหรือปัจจุบันไม่สัมพันธ์กับระดับ HDL-C ที่สูงขึ้น[56]เช่น งานศึกษาในคนไข้ 4,635 คนแสดงว่าการสูบกัญชาไม่มีผลต่อระดับ HDL-C (P=0.78) คือ ค่าเฉลี่ย HDL-C/และค่าคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (standard error) ของผู้ที่ไม่เคยสูบเท่ากับ 53.4/0.4 mg/dL, ของผู้สูบในอดีต 53.9/0.6 mg/dL และของผู้สูบในปัจจุบัน 53.9/0.7 mg/dL[56]

ยารักษาโรคและวิตามินบี3

การบำบัดเพื่อเพิ่มระดับคอเลสเตอรอลแบบ HDL ก็โดยให้ยาไฟเบรต (fibrate) และวิตามินบี3 (ไนอาซิน)แต่ไฟเบรตก็ไม่มีผลต่อการตายทั่วไปเพราะเหตุทั้งหมด แม้จะมีผลต่อลิพิด[57]

ส่วนวิตามินบี3 เพิ่ม HDL โดยยับยั้งเอนไซม์ diacylglycerol acyltransferase 2 ในตับ, ลดการสังเคราะห์ไตรกลีเซอไรด์และการหลั่งไลโพโปรตีนหนาแน่นต่ำมาก (VLDL) ผ่านหน่วยรับ HM74[58]หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า niacin receptor 2 และผ่านหน่วยรับ HM74A/GPR109A หรือเรียกว่า niacin receptor 1[49]

วิตามินบี3 ในขนาดที่ให้ผลทางเภสัช (1-3 ก./วัน) จะเพิ่มระดับ HDL ประมาณ 10-30%[59]จึงเป็นสารมีฤทธิ์มากที่สุดเพื่อเพิ่มระดับ HDL[60][61]การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมได้แสดงว่า การรักษาด้วยวิตามินบี3 สามารถชะลอโรคหลอดเลือดแดงแข็งและปัญหาหัวใจร่วมหลอดเลือดได้อย่างสำคัญ[62]ผลิตภัณฑ์วิตามินบี3 ที่ขายโฆษณาว่า "no-flush" คือไม่มีผลข้างเคียงเป็นหน้าแดง/ตัวแดง จะไม่มีกรดนิโคตินิกอิสระ (free nicotinic acid) จึงไม่มีประสิทธิภาพเพิ่มระดับ HDL เทียบกับผลิตภัณฑ์ที่โฆษณาว่า "sustained-release" (คือค่อย ๆ ปล่อยยาออกฤทธิ์เป็นระยะยาว) ซึ่งอาจมี แต่สินค้าบางยี่ห้อก็เป็นพิษต่อตับดังนั้น รูปแบบที่แนะนำเพื่อเพิ่ม HDL ก็คือผลิตภัณฑ์ที่มีราคาคถูกสุดและปล่อยสารออกฤทธิ์ทั้งหมดทันที (immediate-release)[63]

ทั้งไฟเบรตและวิตามินบี3 เพิ่มระดับโฮโมซิสตีน (homocysteine) ซึ่งเป็นพิษต่อหลอดเลือดแดง แต่อาจแก้ได้โดยทานวิตามินรวมที่มีวิตามินบีต่าง ๆ สูง[ต้องการอ้างอิง]แต่งานทดลองในยุโรปหลายงานที่ตรวจสูตรวิตามินซึ่งนิยมที่สุดพบว่า ผลิตภัณฑ์ลดโฮโมซิสตีน 30% โดยเฉลี่ย แต่ไม่ลดปัญหาหัวใจร่วมหลอดเลือดแม้ก็ไม่มีผลเสียด้วยส่วนงานศึกษาวิตามินบี3 ปี 2011 ต้องเลิกก่อนกำหนดเพราะคนไข้ที่ทานวิตามินบี3 บวกกับ statin ไม่มีสุขภาพหัวใจที่ดีขึ้น แต่เสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้น[64]

เพื่อเปรียบเทียบ การใช้ statin มีผลต้านไม่ให้มีระดับ LDL สูง แต่โดยมากก็ไม่มีผลหรือมีผลน้อยเพื่อเพิ่มระดับคอเลสเตอรอลแบบ HDL[60]แต่ยาหลายอย่างในกลุ่ม statin รวมทั้ง rosuvastatin และ pitavastatin ก็เพิ่มระดับ HDL อย่างสำคัญเพราะ statin มีผลข้างเคียงต่าง ๆ เช่น กล้ามเนื้อเจ็บ คนไข้อาจจำต้องได้ยาขนาดต่ำกว่าเพื่อควบคุมคอเลสเตอรอล[65]

ผลิตภัณฑ์ Lovaza ซึ่งประกอบด้วยกรดไขมันโอเมกา-3, eicosapentaenoic acid ethyl ester และ docosahexaenoic acid ethyl ester พบว่า เพิ่มระดับ HDL-C[66]แต่หลักฐานดีสุดที่มีก็แสดงว่า ไม่มีประโยชน์ไม่ว่าจะในระดับปฐมภูมิหรือทุติยภูมิต่อโรคหัวใจร่วมหลอดเลือด

แม้องค์การอาหารและยาสหรัฐจะยังไม่ได้อนุมัติ peroxisome proliferator-activated receptor (PPAR) modulator หรือ selective androgen receptor modulator (SARM) คือ GW501516 ซึ่งเป็นสารเคมีที่ยังทดลองอยู่ (คือยังไม่ให้มนุษย์บริโภค) แต่ก็พบว่ามีผลดีต่อ HDL-C[67]และมีฤทธิ์ต้านหลอดเลือแดงแข็ง (antiatherogenic) ถ้า LDL เป็นปัญหา[68]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ไลโพโปรตีนหนาแน่นสูง http://heartdisease.about.com/cs/cholesterol/a/rai... http://us.gsk.com/products/assets/us_lovaza.pdf http://cme.medscape.com/viewarticle/479499_5 http://cme.medscape.com/viewarticle/520393 http://www.webmd.com/vitamins-and-supplements/life... http://www.health.harvard.edu/newsletters/Harvard_... http://www.nhlbi.nih.gov/guidelines/cholesterol/at... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1052533 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1479303 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1732002